นิตยสารแพรว Wedding ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2563

“เบลล่า – แต้ว” & “จั๊กจั่น – ตั๊ก” สวยหวานผสานความเซ็กซี่บนปก นิตยสารแพรว Wedding ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2563

เต็มอิ่มจุใจกับชุดเจ้าสาวทรงไทยและสไตล์สากลกว่า 100 ชุด ใน นิตยสารแพรว Wedding ฉบับล่าสุดเดือน พฤศจิกายน 2563 กับคอลัมน์เสริมความรู้คู่ว่าที่บ่าวสาวที่กำลังเตรียมงานแต่งงาน และ คอลัมน์ Best of 2020 รวมที่สุดของเรื่องแต่งงานไว้ในเล่มนี้ที่เดียว!

“เบลล่า – ราณี” & “แต้ว – ณฐพร”

นิตยสารแพรว Wedding

นิตยสารแพรว Wedding

“จั๊กจั่น – อคัมย์สิริ” & “ตั๊ก – บงกช”

นิตยสารแพรว Wedding

นิตยสารแพรว Wedding

ติดตามแฟชั่นชุดเจ้าสาวจากแบรนด์ไทยคุณภาพระดับอินเตอร์และเนื้อหาสาระดีๆ เกี่ยวกับงานวิวาห์อีกมากมาย ได้ที่ นิตยสาร แพรวเวดดิ้ง ฉบับเดือน พฤศจิกายน 2563 สามารถสั่งซื้อได้แล้วที่ ร้านนายอินทร์ หรือติดต่อแผนกสมานิตยสาร โทร. 02 – 423 – 9999 กด 1 ได้เลยค่ะ

ยังมีแฟชั่นชุดเจ้าสาวสวยๆ อีกมากมายให้ได้ชม และเก็บไว้เป็นอินสไปเรชั่น ไปดูกันต่อได้เลย >>> ชุดเจ้าสาวไทยและสากล

ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส ร่วมมือกับ TikTok ให้บริการและคำปรึกษาเชิงกลยุทธ์สุดเอ็กซ์คลูซีฟ เพื่อเชื่อมแบรนด์กับวัฒนธรรมบนชุมชนออนไลน์ สร้างการเติบโตแก่ธุรกิจแบบออร์แกนิค

ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส ประเทศไทย จับมืออย่างเป็นทางการกับ TikTok แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นชั้นนำระดับโลก สร้างบริการให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์ครบวงจร สำหรับแบรนด์ที่ต้องการใช้ครีเอเตอร์ เพื่อสร้างสรรค์เนื้อหาให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจแบบออร์แกนิค

19 พฤษภาคม 2564 – ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส (IPG Mediabrands) มีเดีย เอเยนซี่ชั้นนำของประเทศไทยและของโลกร่วมมืออย่างเป็นทางการกับ TikTok แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นชั้นนำระดับโลก ให้บริการและคำปรึกษาเชิงกลยุทธ์ สำหรับแบรนด์ที่ต้องการใช้ครีเอเตอร์หรือผู้ผลิตเนื้อหา เพื่อสร้างการเติบโตแก่ธุรกิจแบบออร์แกนิค (Creator Organic Growth Service) โดยบริการให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์นี้มาจากแนวคิดของทั้ง 2 บริษัท ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส และ TikTok ที่ต้องการเป็นผู้นำและผู้ริเริ่มผลักดันให้แบรนด์ใช้ความคิดสร้างสรรค์จากผู้ผลิตเนื้อหาหรือครีเอเตอร์ ในการสร้างสรรค์เนื้อหาเพื่อเชื่อมแบรนด์กับวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มออนไลน์ จนนำไปสู่การสร้างศูนย์กลางวัฒนธรรมของชุมชน บนแพลตฟอร์มออนไลน์อย่างแท้จริง ซึ่งจะส่งผลดีในเชิงธุรกิจแบบออร์แกนิคให้กับแบรนด์อย่างมีประสิทธิภาพ โดย TikTok  จะให้คำปรึกษาและข้อมูลเชิงลึกแก่ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส เพื่อใช้สร้างกลยุทธ์ทางการตลาดแก่แบรนด์ที่เป็นลูกค้ากับทางเอเยนซี่ และให้มั่นใจว่าครีเอเตอร์และเนื้อหาที่แบรนด์ได้จัดทำขึ้น เชื่อมโยงและสอดคล้องกับวัฒนธรรมบนสังคมออนไลน์อย่างสร้างสรรค์

ดร. ธราภุช จารุวัฒนะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของไอพีจี มีเดียแบรนด์ส ประเทศไทย กล่าวว่า “การร่วมมืออย่างเป็นทางการระหว่าง ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส กับ TikTok นี้ อยู่ในกรอบความมุ่งมั่นตลอดระยะเวลา 3 ปีเพื่อให้ลูกค้าของไอพีจี มีเดียแบรนด์สทั่วโลก สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกและการฝึกอบรมของ TikTok อีกทั้งเป็นโอกาสที่ดี เพื่อร่วมกันพัฒนาวัฒนธรรมออนไลน์ สร้างเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการสื่อสารการตลาดบนแพลตฟอร์มออนไลน์ในอนาคต”  ขณะที่คุณกนกวรรณ คุณาเรืองโรจน์ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายซื้อสื่อโฆษณา ของแม็กนา (MAGNA) ประเทศไทย ซึ่งแม็กนาเป็นหน่วยธุรกิจภายใต้ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส ที่ร่วมงานกับทาง TikTok โดยตรง กล่าวถึงการร่วมมือในการสร้างบริการให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์แบบครบวงจรว่า “การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด (COVID-19) ส่งผลให้การใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์ ทั้งแอปพลิเคชั่น โซเชียลมีเดีย และเว็บไซต์เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีของแบรนด์ในการเพิ่มมูลค่าการตลาดให้ตัวเอง ด้วยการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ โดยเฉพาะ TikTok หนึ่งในแพลตฟอร์มออนไลน์ที่กำลังได้รับความนิยมจากคนไทย รวมทั้งไอพีจี มีเดียแบรนด์สกับ TikTok เป็นพาร์ทเนอร์ที่ดี ร่วมมือกันสร้างสรรค์บริการให้แก่ลูกค้าในเชิงธุรกิจมาตลอด โดยบริการ “Creator Organic Growth Service” นั้น นอกจากเรื่องของธุรกิจแล้ว เรายังมีจุดมุ่งหมายให้ทุกคนเรียนรู้พลังจากการสร้างเนื้อหา และวัฒนธรรมของชุมชนบนแพลตฟอร์มออนไลน์ด้วย”

ทั้งนี้ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส และ TikTok  ยังคงมุ่งมั่นที่จะคิดค้นวิธีการและบริการใหม่ ๆ ในการส่งเสริมความหลากหลาย ความเท่าเทียมและการสร้างวัฒนธรรมเพื่อชุมชน ทั้งในและนอกแพลตฟอร์มของทั้ง 2 บริษัท เพื่อพัฒนาเป็นกลยุทธ์ที่สร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อองค์กรและสังคมต่อไป

 

เกี่ยวกับ แม็กนา

แม็กนา เป็นหน่วยธุรกิจหนึ่งภายใต้ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส (IPG Mediabrands) สำหรับแม็กนา ประเทศไทย นำทีมโดยคุณกนกวรรณ คุณาเรืองโรจน์ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายซื้อสื่อโฆษณา และทีมงานที่มาพร้อมประสบการณ์ในแวดวงมีเดีย เอเจนซี่กว่า 16 ปี โดยทำให้กับทั้งแบรนด์ไทยและแบรนด์ระดับโลกในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ การเงินและการธนาคาร รวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) ด้วยความเชี่ยวชาญในการใช้กลยุทธ์การเลือกสื่อ แม็กนา ประเทศไทย ได้ร่วมสร้างความสำเร็จ ให้หลากหลายแบรนด์เข้าถึงผู้บริโภคด้วยสื่อต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

 

เกี่ยวกับ ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส

ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส (IPG Mediabrands) คือองค์กรระดับโลกที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสื่อสารและการวิเคราะห์ข้อมูลที่อยู่ในเครือ Interpublic Group (NYSE: IPG) เราบริหารและดูแลการลงทุนทางด้านการสื่อสารการตลาดให้กับลูกค้าที่มีมูลค่ารวมกันกว่า 3,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน 130 ประเทศทั่วโลก โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสื่อสารรวมตัวกันมากกว่า 10,000 คน

เกี่ยวกับ TikTok

TikTok คือ แพลตฟอร์มสร้างสรรค์วิดีโอสั้นชั้นนำระดับโลก พันธกิจของ TikTok คือ การจุดประกายความคิดสร้างสรรค์และมอบความสุขให้กับผู้คน TikTok มีสำนักงานอยู่ทั่วโลก ได้แก่ ลอสแอนเจลิส นิวยอร์ค ลอนดอน ปารีส เบอร์ลิน ดูไบ มุมไบ สิงคโปร์ จาการ์ตา โซล และโตเกียว สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่  www.tiktok.com 

Motifs in Asian Wedding Attire แฟชั่นอาเซียนในชุดแต่งงาน

Cultural Industry คือ คำเรียกใหม่ของอุตสาหกรรมแฟชั่น จากคำเรียกเดิมว่า Fashion Industry ที่ให้ความรู้สึก “ตลาด” หรือ commercial มากไป ทว่า Cultural Industry กลับให้ความรู้สึกสุนทรียะอย่างแยบคายยิ่งกว่า กอปรกับเอเชียได้กลายเป็นศูนย์กลางของโลกยุคใหม่หลังยุโรปและอเมริกาเหนือถอยห่างจากอำนาจไป ด้วยเหตุนี้เองวัฒนธรรมเอเชียอันรุ่มรวยจึงเรืองรองขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยนักออกแบบหลากเชื้อชาติเลือกจับลักษณะเด่น (Motif) ของตะวันออกมาพลิกแพลงใหม่ ทำให้วัฒนธรรมงอกงามและเติบโตตามความหมายที่แท้จริง (วัฒนธรรม – Culture มาจากคำว่า Cultivate = ปลูกฝัง บ่มเพาะให้งอกงาม)

Motif เหล่านี้มักปรากฏในพิธีกรรมสำคัญของแต่ละวัฒนธรรม หนึ่งในนั้นที่ไม่กล่าวถึงคงมิได้คือพิธีแต่งงาน นัยต่างๆ ที่แฝงเร้นอยู่ในอาภรณ์แต่ละชิ้นจะเป็นอย่างไร งอกเงยอย่างงดงามไปตามยุคสมัยเช่นใดบ้าง ตามสายลมตะวันออกไปสำรวจมหาอำนาจทางวัฒนธรรมเอเชียด้วยกัน ณ บัดนี้พลัน


China : กี่เพ้าและสัตว์มงคล Qipao & Auspicious Animals

ฉีผาวหรือกี่เพ้าในภาษาจีน หรือชองแซม (Cheongsam) ในสำเนียงอังกฤษ เป็นชุดประจำชาติของจีนที่สืบสาวประวัติได้ไกลถึงสมัยราชวงศ์ชิงในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ส่วนภาพเจ้าสาวสวมมงกุฎ มีผ้าคลุมหน้าสีแดง ที่เคยเห็นในหนังจีนกำลังภายในนั้น ได้รับอิทธิพลมาจากมงกุฎหงส์ (Phoeninx Crown) ของฮองเฮาและหญิงสูงศักดิ์สมัยราชวงศ์หมิงในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ครั้นยุคสมัยเคลื่อนผ่านพิธีการบางอย่างก็ถูกลดทอนลงไป แต่สิ่งที่ยังคงอยู่คู่กับเครื่องแต่งกายในพิธีแต่งงานหรือ Red Event ของชาวจีนคือ สีแดง มังกร และหงส์ ซึ่งเปี่ยมความหมายและคุณค่าทางจิตใจดังนี้

สีแดง : เป็นสีรวมศูนย์ความดีงามทั้งปวงสันนิษฐานว่า เพราะภูมิประเทศส่วนใหญ่ของจีนแห้งแล้งและหนาวเย็น ฉะนั้นวันที่มีแสงแดดส่องจึงเป็นวันดี อากาศอบอุ่น สีแดงของดวงอาทิตย์จึงเป็นที่รักของชาวจีน ธาตุไฟหนึ่งในห้าธาตุแห่งชีวิตเป็นสีแดง มีนัยถึงแสงสว่าง ความรุ่งโรจน์ ความอบอุ่น และพละกำลัง สีแห่งไฟนี้ยังมีพลังขับไล่ความชั่วร้าย จึงกลายเป็นสีมงคล ในขณะที่สีขาวสื่อถึงการเกิด – ดับตามหลักพุทธศาสนา จึงใช้

ในบริบทงานอวมงคลอย่างงานศพ

หงส์ : หงส์ไฟ นกฟีนิกซ์ นกเฟิ่งหวงหรือฟงหวง เป็นราชาแห่งสัตว์ปีก เป็นนกที่งดงามที่สุดในจักรวาล สัตว์ เป็นสัญลักษณ์ของหยิน เพศหญิง หรือฮองเฮา ตามตำนานแล้วนกแห่งสวรรค์เกิดจากเถ้าถ่านของตัวเอง

เป็นตัวแทนของชีวิตยืนยาว ความอบอุ่นแห่งแสงตะวัน และความดีงาม

มังกร : มังกรจีนไร้ปีก เป็นสัญลักษณ์ของฮ่องเต้ ธาตุหยาง หรือเพศชาย นำมาซึ่งพลังอำนาจ ความมั่งคั่ง ความสุข ความเจริญและความอุดมสมบูรณ์ ในงานแต่งงานมักมีรูปหงส์และมังกรคู่กัน (สัตว์สองชนิดนี้เป็นเพื่อนมิใช่คู่รัก) เชื่อว่าจะทำให้บุตรที่เกิดมาแข็งแรงสุขภาพดี ด้วยพลังของยอดแห่งสัตว์มงคลทั้งสอง


Japan: Uchikake & Crane อุชิคาเคะและตำนานนกกระเรียน

คนญี่ปุ่นไม่นับถือศาสนาใดแน่ชัด แต่น้อมรับความหลากหลายเข้ามาในชีวิตได้อย่างไม่ขัดเขิน เมื่อแรกเกิดไปไหว้วัดชินโต แต่งงานแบบคริสต์ และยามตายทำพิธีแบบพุทธ

กล่าวโดยเฉพาะการแต่งงาน หลังจากพิธีเสกสมรสของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์และเลดี้ไดอะน่าในยุค 80 ได้เกิดกระแสพิธีแต่งงานแบบตะวันตกลูกหลานเทพธิดาแห่งดวงอาทิตย์ (อะมะเตระสุโอมิกามิ) ในยุคนี้จึงนิยมสลัดกิโมโนแล้วหันไปแต่งกายตามสากล จูงมือกันไปแลกแหวนในโบสถ์แทน

ส่วนพิธีแต่งงานแบบชินโตเต็มไปด้วยกฎเกณฑ์และมีค่าใช้จ่ายสูง ทว่างดงามและศักดิ์สิทธิ์ตามรูป แบบของศาสนาที่นับถือเทพเจ้าและธรรมชาติในพิธีชินโต เจ้าสาวต้องสวมกิโมโนสีขาวเรียบๆ ที่เรียกว่าชิโรมุกุ (Shiromuku) แล้วสวมทับด้วยอุชิคาเคะ (Uchikake) เสื้อคลุมหนาหนัก ตัดด้วยผ้าไหมที่ปักประดับลวดลายอย่างวิจิตรบรรจง เป็นสีขาวหรือมีสีสันแซมเพื่อความสดชื่น เพราะบางคนเห็นว่าสีขาวล้วนทำให้เจ้าสาวดูเศร้าหมองเกินไปในวันแต่งงาน

อีกอย่างที่ขาดไม่ได้คือ หมวกหรือผ้าคลุมผมซึโนะคะคุฉิ (Tsunokakushi) Tsuno แปลว่า เขา Kakushi แปลว่า แอบซ่อน ผู้หญิงต้องซ่อนเขาแห่งความริษยา ความโกรธเกรี้ยว และความไม่ดีทั้งหลายไว้ใต้ผ้าคลุมผมก่อนจะเข้าพิธีแต่งงาน ซึ่งใต้ผ้าคลุมผมอีกชั้นคือวิกผมที่ประดับด้วยหวีทองประดับอัญมณีสูงค่า เรียกว่าคันซาชิ (Kanzashi) ทั้งชุดและผมทำเองไม่ได้สักอย่าง เป็นศิลปะขั้นสูงที่ต้องให้ผู้ชำนาญจัดการให้เท่านั้น อุชิคาเคะผ้าไหมที่ปักอย่างวิจิตรบรรจงอาจมีราคาราว 120,000 บาทเป็นอย่างน้อย เจ้าสาวที่อยากแต่งงานแบบชินโตจึงมักเช่าชุดและวิกผม แต่ค่าเช่าอุชิคาเคะก็ตกราววันละ 45,000 บาททีเดียว

ลวดลายที่นิยมปักลงบนกิโมโนหรืออุชิคาเคะ คือลายนกกระเรียน ดังตำนานที่ว่า นกกระเรียนแปลงร่างเป็นหญิงสาวมาปรนนิบัติหนุ่มชาวนายากจนที่ช่วยชีวิตตนไว้ นางใช้ขนของตนทอผ้าผืนงามให้ชายหนุ่มนำไปขาย จนตัวเองผ่ายผอมลงไปเรื่อยๆ ตราบจนชายหนุ่มรู้ความจริงว่า ภรรยาเป็นนกกระเรียน นางจึงคืนร่างเดิมแล้วจากชายหนุ่มไป นกกระเรียนจึงเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์ ชีวิตที่ยืนยาวและความรักอันมั่นคง

India: Skin Decoration สลักเสลาร่างกายด้วยสีสัน

พลเมืองอินเดียหนึ่งพันสองร้อยล้านคนเต็มไปด้วยความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม ทำให้อินเดียมีเครื่องแต่งกายในประเพณีการแต่งงานแตกต่างไปตามแต่ละภูมิภาค อาทิ Maharashtrian traditional Wedding ในรัฐมหาราษฏระ Bengali Traditional Wedding ของเชื้อสายอินโด – อารยัน Punjabi Traditional Wedding ในรัฐปัญจาบ Rajasthani Traditional Wedding ในรัฐราชสถาน Gujarati Traditional Wedding ในรัฐคุชราต ฯลฯ

กล่าวเฉพาะถึงพิธีแต่งงานแบบฮินดูที่มักประดับตกแต่งร่างกายอย่างวิจิตรด้วยสีสันต่างๆ โดยเฉพาะสีแดง ด้วยเชื่อว่าเป็นสีมงคลสีของความสุข สีที่ช่วยป้องกันภยันตรายต่างๆ และเป็นสีของความรัก เจ้าสาวชาวฮินดูจะใช้สีแดงแต่งแต้มทั้งในส่าหรีชุดแต่งงานที่ปักประดับอย่างละลานตา แต้มจุดแดงกลางหน้าผากเสมือนดวงตาที่สามหรือบินดิ รวมถึงการเขียนเฮนน่าสีน้ำตาลแดงทั่วมือและเท้าที่เรียกว่าพิธีเมห์นดิ เจ้าสาวอินเดียอันเป็นอวตารของพระลักษมีจึงงดงามด้วยศิลปะบนร่างกายเช่นนี้เอง


More Than Saree

Mehndi

พิธีเมห์นดิคือการเขียนเฮนน่าที่มือและเท้าของเจ้าสาวก่อนพิธีแต่งงาน เป็นกระบวนการเปลี่ยนผ่านจากเด็กสาวบริสุทธิ์ไปสู่การเป็นหญิงสาวเต็มตัว ด้วยลวดลายนกยูง ดอกไม้ หอยสังข์ และแอบซ่อนชื่อเจ้าบ่าวเอาไว้ในลวดลายเฮนน่า เจ้าบ่าวจำต้องค้นหาชื่อของตนท่ามกลางลวดลายอันสลับซับซ้อนเพื่อให้เจ้าสาวประทับใจ ทั้งยังเชื่อว่า สีของเฮนน่ายิ่งเข้มและติดทนนานเท่าใด เจ้าสาวจะยิ่งเป็นที่รักของครอบครัวฝ่ายชายมากขึ้นเท่านั้น ทั้งยังเป็นเครื่องรางมงคลที่จะช่วยปกปักษ์ความดีงามให้อยู่กับตัวเจ้าสาวสืบไป

Bindi

ติลากัม, ซินดูร์ หรือดวงตาที่สาม อันเป็นดวงตาแห่งปัญญา ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของพระแม่ปารวาตี (Parvati) ที่เชื่อว่าใช้ปกป้องหญิงที่แต่งงานแล้วและสามี รวมถึงปกป้องพวกเธอจากสายตาริษยาของคนอื่น ในพิธีแต่งงาน เจ้าบ่าวจะเป็นผู้แต้มบินดิให้ภรรยา ในประเพณีของชาวปัญจาบจะถือว่าคู่บ่าว – สาวได้เป็นสามีภรรยากันแล้วอย่างสมบูรณ์ หลังจากวันแต่งงาน ภรรยาต้องแต้มผงขมิ้น ผสมน้ำมะนาวทุกวันตราบจนการสมรสนั้นยังยั่งยืนอยู่ แต่สมัยนี้บินดิกลายเป็นแฟชั่นที่วิวัฒน์ความวิจิตร บ้างใช้อัญมณีหรือสติ๊กเกอร์บินดิเพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้งาน ทั้งยังไม่จำกัดอยู่ที่จุดวงกลมหรือสีแดงอีกต่อไป

เจ้าสาวอินเดียใช่จะห่มแต่ส่าหรี ในแต่ละภูมิภาคยังนิยมนุ่งห่มต่างกัน เช่น เจ้าสาวในรัฐมหาราษฏระจะนุ่งส่าหรีผ้าไหมที่โดดเด่นด้วยสีแดง สีมารูน หรือแดงม่วงอมน้ำตาลและสีเขียว ชายผ้ามักปักลายนกยูงหรือนกแก้ว ส่วนริมผ้านิยมปักลายดวงดาว มะม่วง หรือดอกบัว ในขณะที่เจ้าสาวในรัฐปัญจาบจะใส่แลงกาหรือฆาครา โชลี (Lehenga/Ghagra Choli) เป็นเสื้อเอวลอยและกระโปรงยาวกรอมเท้าสีสันสดใส ส่วนเจ้าสาวในแคว้นแคชเมียร์จะใส่กูรตะหรือกางเกง คู่กับซาลวาร์คามีซ หรือเสื้อตัวยาวที่ปักประดับลวดลายตระการตา
ขอขอบคุณภาพจาก เจดับบลิว แมริออท ภูเก็ต รีสอร์ท แอนด์ สปา

กรอบรูปความทรงจำ


     จัดวางกรอบรูปหลากสไตล์ในโทนสีพาสเทลให้กระจายทั่วแบ็กดร็อปสีเขียวมินต์จะใช้ใส่ภาพถ่ายพรีเวดดิ้งหรือสิ่งที่เป็นความทรงจำของบ่าว – สาวก็ได้เช่นปกหนังสือที่ชอบโปสต์การ์ดที่เคยเขียนส่งถึงกันหรือโปสเตอร์หนังที่ประทับใจเป็นการสร้างแกลเลอรี่ในมุมเล็กๆ ที่โรแมนติกและอ่อนหวานเข้ากับธีมงาน

เรื่องโดย:
ช่างภาพ:

STAND 2 IN 1


     สร้างสรรค์สแตนด์ปกติให้มี 2 หน้าที่ทั้งวางไว้ตามทางเดินและตั้งไว้บนโต๊ะอาหารเป็นเซ็นเตอร์พีซโดยตกแต่งให้เข้าธีมได้ง่ายๆ ด้วยการใช้ริบบิ้นสีอ่อนๆ ตัดคู่กับผ้าลูกไม้เป็นเส้นและเพิ่มความหวานด้วยดอกไม้กระดาษที่พับได้หลายแบบตามต้องการ

เรื่องโดย:
ช่างภาพ:

ช่อดอกไม้โอะริกะมิ


     ไหนๆ ก็ตกแต่งงานด้วยดอกไม้พับจากกระดาษไปแล้วช่อดอกไม้เจ้าสาวก็ไม่ควรหลุดธีมแค่จัดใส่ช่อก็สวยไม่แพ้ดอกไม้จริง

เรื่องโดย:
ช่างภาพ:

DECOR TABLE


     ตกแต่งโต๊ะอาหารของประธานในพิธีและบ่าว – สาวด้วยการจัดวางแจกันทรงเตี้ยเรียงแถวตรงกลางแล้วปักกิ่งซากุระประดิษฐ์ไว้สร้างบรรยากาศให้หวานได้

เรื่องโดย:
ช่างภาพ:

FLOWER BACKDROP


     นำดอกไม้กระดาษไปติดกำแพงรอบงานเพื่อให้แขกและเจ้าภาพสามารถถ่ายรูปได้ทุกจุดทุกเมื่อที่ต้องการ

เรื่องโดย:
ช่างภาพ:

ขนมต้อนรับ


     เป็นกรวยใส่เจลลี่บีนที่แจกให้แขกก่อนเข้างาน เมื่อกินหมดแล้วสามารถนำกรวยมาเล่นเป็นเกมทายใจว่าจะได้ไปเที่ยวที่ไหนได้อีกด้วยถือเป็นกิมมิกสนุกๆให้แขกได้เล่นก่อนงานเริ่ม

เรื่องโดย:
ช่างภาพ:

เข็มกลัดแผนที่โลก


     เซตเข็มกลัดที่ทำเป็นลายแผนที่โลกเข้ากับธีมท่องเที่ยวเป็นที่สุด

เรื่องโดย:
ช่างภาพ:

ที่วางแหวน


     เพื่อให้เข้าธีมท่องเที่ยวจึงทำที่วางแหวนเป็นลายลูกโลกโดยนำดินญี่ปุ่นมาปั้นเป็นแท่นทรงกลมและวาดเป็นรูปลูกโลกจากนั้นเจาะรูด้านบน นำเชือกที่ร้อยแหวนเอาไว้ผูกเข้าไป เท่านี้ก็ได้ที่วางแหวนแสนเก๋แล้ว

เรื่องโดย:
ช่างภาพ:

ดอกไม้ผูกข้อมือเพื่อนเจ้าสาว


     เปลี่ยนจากบูเกต์มาเป็นดอกไม้ผูกข้อมือเพิ่มความน่ารักให้กับเพื่อนเจ้าสาวได้ไม่น้อยเลย

เรื่องโดย:
ช่างภาพ:

ดอกไม้สำหรับโปรย


     นำกระดาษเก่ามาทำเป็นกรวยด้านในใส่กลีบดอกไม้สำหรับโปรยเมื่อคู่บ่าว – สาวเดินเข้างาน

เรื่องโดย:
ช่างภาพ:

ไอเดียโต๊ะอาหาร


     โต๊ะอาหารสไตล์โบทานิกรอบๆ ตกแต่งด้วยขวดยาและขวดสารเคมีที่มีขนาดและสีต่างกันแล้วเพิ่มความสวยงามด้วยกิ่งไม้สีเขียว เติมความเป็นธรรมชาติด้วยสีน้ำตาลไล่เฉดตั้งแต่ผ้าปูโต๊ะขวดแก้วไปจนถึงถาดหวายสำหรับจานอาหารใช้วิธีวางซ้อนกันโดยมีแน็ปกินคั่นกลางนำต้นไม้เล็กๆ วางไว้บนจานเพื่อให้แขกในงานนำกลับไปเป็นของที่ระลึกส่วนกระดาษที่พับอยู่ใต้ต้นไม้ในจานคือเมนูอาหาร

เรื่องโดย:
ช่างภาพ:

BOUQUET MADE


     ไม่เห็นต้องเสียเงินไปกับช่อดอกไม้ราคาแพงเหมือนคนอื่น แค่ลงมือทำบูเกต์แสนเก๋ด้วยตัวเองง่ายๆ แค่นำลวดเล็กๆ มาดัดเป็นรูปที่ต้องการแล้วนำใบเฟินไปตกแต่งก็ได้บูเกต์ไม่เหมือนใครแล้ว

เรื่องโดย:
ช่างภาพ:

GREETING PLATE


     เปลี่ยนจากการเซ็นอวยพรลงสมุดประสาทพรมาเป็นการอวยพรลงบนจานกระเบื้องสีขาวที่เลือกเองกับมือหลังเสร็จงานบ่าว – สาวยังเก็บไว้ตกแต่งบ้านได้ด้วย แต่ถ้าจะให้ดีแนะนำให้ใช้ Waterproof Pen ในการเซ็นคำอวยพรทั้งหลายจะได้อยู่กับคุณไปนานแสนนาน

เรื่องโดย:
ช่างภาพ:

YOUR SEAT


     จำลองหนังสือที่บ่าว – สาวชอบอ่านมาเป็นเล่มจิ๋วที่เขียนชื่อแขกลงไปแล้วจัดวางบนเซตจานประจำที่บนโต๊ะซิตดาวน์ดินเนอร์

เรื่องโดย:
ช่างภาพ:

INVITATION CARD


     ทำการ์ดเชิญด้วยตัวเองจากแผ่นไม้บางๆ ติดกระดาษสีตามธีมงานลงไปจากนั้นบรรจงร่ายคำเชิญได้เลย

เรื่องโดย:
ช่างภาพ:

สีชมพู – ขาว – เขียวสวยสดอลังการ


     ชุดพานขันหมากสีขาว – ชมพูที่สรรค์สร้างจากกลีบบัวหลวงสีชมพูปลิดทีละกลีบคัดแยกเป็นเฉดอ่อนแก่แล้วค่อยบรรจงพับและเย็บเรียงกันอย่างประณีตไล่จากโทนสีชมพูเข้มอมเขียวไปหาชมพูอ่อนละมุนตามลักษณะของดอกบัวธรรมชาติที่กลีบชั้นนอกจะมีสีเข้มกว่ากลีบชั้นในก่อนจะล้อมรอบด้วยมาลัยที่ร้อยจากกลีบบัว 11 หลักยกตา (ยกตาคือลายข้าวหลามตัดหน้ามาลัย)

เรื่องโดย:
ช่างภาพ: