หนึ่งในความสวยงามของวัฒนธรรมการแต่งกายแบบไทย โบราณ คือ การนุ่งห่มด้วยแพรพรรณสีสันงดงามตามสีประจําวัน เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้สวมใส่ และนิยมสวมใส่สไบสีตัดกับผ้านุ่ง ชุดแต่งงานไทย
ชุดแต่งงานไทย จับทรงนุ่งห่มสีตัดกันตามฉบับ โบราณ สวยและได้ความสิริมงคล
แม้ในปัจุบันความนิยมในการนุ่งสีห่มสีจะได้รับความนิยมน้อยลงตามวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามา แต่ชุดไทยแบบสีตัดกันยังสามารถนํามาปรับ แต่งด้วยการจับคู่สีใหม่ๆ ที่สร้างความสวยงามได้หลากหลาย แพรว wedding จึงนําเสนอชุดแต่งงานแบบไทยท่ีโดดเด่นด้วยคู่สีสวย เผื่อเป็นไอเดียให้ได้นำไปปรับใช้กันค่ะ
อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย
“อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย” คือผู้รื้อฟื้นนงานหัตถศิลป์ ผ้าทอยกทองโบราณของราชสํานัก และผู้ก่อต้ังกลุ่มทอผ้ายกทอง “จันทร์โสมา” หมู่บ้านท่าสว่าง จังหวัดสุรินทร์ ตลอดจนเป็นผู้เชี่ยวชาญ ในการจัดทําเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับในพิธีการสําคัญๆ ของประเทศ เช่นเดียวกับเรื่องชุดแต่งงานตามแบบไทยโบราณท่ีเจ้าสาว หลายคนใฝ่ฝันอยากสัมผัสฝีมือการออกแบบของอาจารย์สักครั้ง
แพรว wedding ฉบับนี้มีโอกาสขอความรู้จากอาจารย์ถึงท่ีมา ของการแต่งกายแบบน่งุ สีห่มสีอย่างไทยโบราณ โดยอาจารย์วีรธรรมเล่าว่า
“คนไทยรับอิทธพลด้านคติความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์ เทพเจ้า และการนุ่งห่มตามสีประจําวันมาจากศาสนาฮินดูของอินเดียมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้วครับ คือตามคติของฮินดูน้ันเชื่อว่าจะมีเทพเจ้าประจําวันทั้ง 7 วัน เกิดจากการท่ีพระอิศวรนําผ้าสีต่างๆ มาห่อสัตว์แต่ละชนิด แล้วพรมด้วยน้ำอมฤต ปลุกเสกให้กลายเป็นเทพเจ้าประจําวัน แต่ละองค์จะมีกายสีเดียวกับผ้าท่ีนํามาห่อ เช่น พระอาทิตย์ เกิดจากพระอิศวรนําราชสีห์ 6 ตัวมาป่นแล้วห่อด้วยผ้าสีแดง พอพรมด้วยน้ําอมฤตแล้วก็กําเนิดเป็นพระอาทิตย์ กายสีแดง (วันอาทิตย์สีแดง) พระจันทร์สีขาวหรือเหลือง พระอังคารสีชมพู เป็นต้น
พอคนไทยรับความเชื่อนี้มาจากฮินดู จึงเลือกนุ่งห่มตามสีประจําวันเพื่อให้เกิดเป็นสิริมงคล รักษาคุ้มครองตัวผู้ใส่ โดยเลือกใช้คู่สีมงคลที่ตัดกันมานุ่งห่มคู่กัน เพราะสมัยนั้นคนไทยใช้ผ้าไม่ก่ีผืนในการนุ่งห่ม คือนุ่งผ้านุ่งแล้วห่มสไบ โดยนอกจากสีที่เป็นมงคลแล้ว เรายังมีความเชื่อเรื่องสีกาลกิณีด้วย จับมานุ่งห่มคู่กันไม่ได้ เพราะถือเป็นปฏิปักษ์กัน ซึ่งต่อมาสุนทรภู่ กวีเอกของไทยได้นําคติความเช่ือเรื่องการนุ่งห่มคู่สีมงคลในการแต่งกายเหล่าน้ีมาแต่งและเรียบเรียงใหม่ข้ึนเป็น คําประพันธ์ กลายเป็น ‘ตําราสวัสดิรักษา’ เพื่อถวายเจ้านายในสมัยรัตนโกสินทร์
“หากอิงตามตําราไทยโบราณแล้ว คู่สีมงคลท่ีนิยมนุ่งห่มตัดกัน ได้แก่ วันอาทิตย์นุ่งแดง ห่มเขียวตองอ่อน วันจันทร์นุ่งเหลืองอ่อน ห่มสีน้ําเงินอ่อน แต่หากนุ่งผ้านุ่งสีน้ําเงิน ซึ่งเป็นสีโทนหนักโทนเข้ม ก็สามารถห่มบานเย็นได้ วันอังคารนุ่งสีม่วงเม็ดมะปรางหรือสีปูนแห้ง แล้วห่มคู่กับสีโศก (สีเขียวอมฟ้า) หรือจะห่มสีเขียวอ่อนหรือเขียวตองอ่อน ก็ได้ วันพุธนุ่งสีถั่วหรือสีเหล็ก (ออกสีเขียวหรือฟ้า) ห่มสีจําปาคือ สีเหลืองอมส้ม วันพฤหัสบดีนุ่งเขียวใบไม้หรือตองอ่อน ห่มสีแสด หรือแดงเลือดนก วันศุกร์นุ่งสีเมฆ (สีครามหรือน้ําเงินแก่) ห่มสีเหลือง วันเสาร์นุ่งสีเม็ดมะปราง ห่มโศก
“การแต่งกายตามสีน้ีเป็นที่นิยมอยู่ในกลุ่มคนช้ันสูงหรือชาววัง ที่มีฐานะเพียงพอที่จะซื้อผ้าให้ครบทุกสีและเปลี่ยนได้ทุกวัน ขณะที่ชาวบ้าน ท่ัวไปจะใช้ผ้าพื้นสีเข้มอย่างเทาและดําเพื่อให้เหมาะกับการทํางาน หากแต่เวลาออกงานออกการ พวกเขาก็จะนําผ้าสีดีๆที่เก็บไว้มาห่มกันบ้าง
“ส่วนประเพณีการแต่งงานของไทยโบราณนั้น ไม่ได้มีชุดแต่งงาน เฉพาะเจาะจงแต่อย่างใด ส่วนใหญ่เจ้าสาวจะเลือกผ้าช้ินใหม่ที่ดีที่สุด แบบท่ีไม่ได้ใช้ในชีวิตประจําวัน จึงมักเป็นชิ้นที่มีค่ามีราคาสูง เช่น ผ้ายก ต่างๆ โดยเฉพาะผ้ายกไหมและผ้ายกทอง ซึ่งมีราคาค่างวดต่างกันไป ตามวัสดุและฝีมือผู้ทอเพื่อให้มีความหรูหราโอ่อ่า
“ส่วนที่มาของแต่ละสีนั้น สมัยก่อนก็เป็นสีจากธรรมชาติ โดยเร่ิม จากแม่สีเป็นหลัก เช่น สีแดงมาจากครั่ง สีน้ําเงินจากคราม สีเหลืองใช้เปลือกขนุนบ้าง ลูกสมอบ้าง ส่วนสีอื่นๆ นอกจากนี้เป็นการนําแม่สี มาย้อมผสมกัน เช่น สีม่วงจะมาจากย้อมคราม (สีน้ําเงิน) และครั่ง (สีแดง) ผสมกัน เป็นต้น หรือในต่างประเทศสมัยโบราณจะมีเปลือกหอย ชนิดหนึ่งท่ีสามารถย้อมสีม่วงได้สดสวยมาก เรียกว่า Emperor Purple เป็นสีที่มีราคาสูงมาแต่โบราณ
“นอกจากนี้ยังมี ‘สารยึดติด’ ที่ไว้ใส่เวลาย้อมผ้า เช่น น้ำด่าง สารส้มเกลือ เหล่านี้จะทําให้สีติดยึดกับผ้าได้นาน เวลาซักแล้วสีไม่ตกและทําให้ผ้ามีสีสวยสดใสอยู่ได้นาน โดยแต่ละสีจะใช้สารยึดติดไม่เหมือนกัน เช่น หากย้อมครั่งให้ได้ดีต้องมีใบมะขามเปียก เป็นต้น
“นี่คือภูมิปัญญาของคนโบราณ”