สารพันข้าวของต้องประสงค์


     นอกจากลำดับพิธีการที่ไม่คุ้นเคยแล้ว ข้าวของที่ต้องตระเตรียมสำหรับงานไทยก็นับว่ามากโขอยู่ WE จึงจัดหมวดหมู่มาให้ดูว่ามีสิ่งใดต้องใช้สอยบ้างว่าที่บ่าว – สาวจะได้นับถอยหลังกันอย่างเย็นใจ…ไม่ลนลาน


 


เจ้าบ่าวตระเตรียม...


 


 


ครบครันขันหมาก


 


     จัดเป็นพระเอกของพิธีแต่งงานแบบไทย เพราะเจ้าบ่าวและเครือญาติจะต้องยก “ขบวนขันหมาก”ไปสู่ขอเจ้าสาวถึงบ้าน จากที่WE พบเห็นมา ส่วนใหญ่การจัดชุดพานขันหมากจะมี ๒ แนวทางปฏิบัติ


 


 ๑.    มี “พานขันหมากเอก” ๑ พาน และ“พานขันหมากโท” ๑ พาน ซึ่งมีขนาดย่อมกว่า สื่อถึงความเป็นคู่ผัวตัวเมีย ส่วนพานอื่นๆ จัดเป็นเครื่องประกอบขันหมาก ดังนี้


 






 


     * พานขันหมากเอก ๑ พาน บรรจุหมาก – พลูเป็นจำนวนคู่ ถ่วั – งา -ข้าวเปลือก – ข้าวตอก ในถุงเงินถุงทอง ดอกรัก และใบเงิน ใบทอง ใบนาก


     * พานขันหมากโท ๑ พาน ประกอบด้วยหมากและพลู สมัยก่อนเมื่อเสร็จพิธีแล้วจะนำไปไว้ในห้องพระ


     * พานดอกไม้ธูปเทียนแพ ๑ พาน สำหรับเจ้าบ่าวถือในขบวนขันหมาก และใช้ไหว้ผู้ใหญ่ในพิธีหมั้น หรือบางคู่ก็ใช้ในพิธีไหว้ผู้ใหญ่ด้วย


     * พานแหวนหมั้น ๑ พาน


     * พานสินสอด – ทองหมั้น จำนวนพานตามฐานะ ส่วนใหญนิยมแยกเป็นพานเงินสด ๑ พาน กับพานเครื่องประดับอีก ๑ พาน จะได้คู่กันพอดีแต่หากบ้านไหนสินสอดเยอะมากก็อาจจะมี             การแยกย่อยลงไปอีก เช่น พานเงินสด พานทองคำแท่ง พานเครื่องเพชร พานโฉนดที่ดิน เป็นต้น


     * พานขนมมงคล ๙ ชนิด ๑ คู่ ประกอบด้วยทองหยิบ ทองหยอดฝอยทอง ขนมชั้น ทองเอก จ่ามงกุฎ เสน่ห์จันทร์ ถ้วยฟู และเม็ดขนุนซึ่งขนมแต่ละชนิดสื่อถึงความหมายที่ดีเช่น


        ความเจริญรุ่งุ เรือง ร่ำรวยเงินทองมีคนคอยสนับสนุน ความเฟื่องฟู มีคนเอ็นดูรักใคร่ และมียศถาบรรดาศักดิ์


 


     เท่าที่ WE สังเกต พานขนมมงคลจะมีปัญหาแมลงวัน ผึ้ง และแมลงอ่นื ๆ มาตอมเป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่น่าดู แถมคนถือก็รำคาญและกลัวถูกกัด บ่าว – สาวบางคู่จึงทำมุ้งผ้าโปร่งสวยงามครอบไว้ บ้างก็ตักขนมแต่ละชนิดใส่โหลแก้วเล็ก ๆ ปิดฝาไว้แล้วค่อยเรียงลงพานอีกที นับเป็นไอเดียที่ชาญ-ฉลาดมาก นอกจากจะดูสะอาดสะอ้าน ถือสะดวก ยังแลดูสวยงามอีกด้วย


 


     * พานผลไม้มงคล ๑ คู่ ประกอบด้วยผลไม้ที่มีชื่อหรือลักษณะเป็นมงคล เช่น มะพร้าว ส้มโอ ทับทิม องุ่น ส้มสายน้ำผึ้ง (บางบ้านอาจมีมากกว่า ๑ คู่ แต่ต้องเป็นจำนวนคู่)


     * พานต้นกล้วย – ต้นอ้อย ๑ คู่ สมัยก่อนเมื่อเสร็จพิธีแล้วนิยมนำไปปลูกเพื่อความเป็นสิริมงคล


 


 ๒.  นับ “ขันหมากเอก” เป็นชุดพานหลัก ส่วน “ขัน-หมากโท” เป็นชุดพานบริวาร


 


     * ขันหมากเอก ประกอบด้วยพานขันหมาก พานสินสอดทองหมั้น พานธูปเทียนแพ และพานแหวนหมั้น


     * ขันหมากโท ประกอบด้วยพานขนมมงคล พานต้นกล้วย – ต้นอ้อย พานผลไม้มงคล


 


     นอกจากนี้บางบ้านอาจมีการผสมผสานวัฒนธรรมจีนเข้ามาด้วย เช่น มีคู่พานวุ้นเส้นพานไก่ต้มค่กู ับพานหมูนอนตอง (หมูสามชั้นต้มวางบนใบตอง) ฯลฯ ซึ่งก็ไม่ผิดแต่อย่างใดถามพานเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะวางไว้ระหว่างพานผลไม้มงคลกับพานขนมมงคล


 


 


อย่าเสียกระบวน


 











 


     ไม่ต้องเกี่ยงกันว่าใครจะยืนตรงไหน ถือพานอะไร ดูผังนี้แล้วจัดขบวนกันเลย


 


 


     ๑. เถ้าแก่ ถือซองเงินสำหรับเป็นค่าผ่านประตูและค่าสินน้ำใจต่าง ๆ


     ๒. เจ้าบ่าว ถือพานธูปเทียนแพเดินกับพ่อแม่ (สมัยนี้บางทีก็ให้เจ้าบ่าวเดินนำหรือเคียงเถ้าแก่เพื่อความสะดวกในการถ่ายภาพ)


     ๓. คู่พานต้นกล้วย – ต้นอ้อย เมื่อขบวนขันหมากมาถึงหน้าสถานที่ทำพิธี คู่พานต้นกล้วย -ต้นอ้อยจะต้องย้ายไปอยู่หลังคู่พานขนมมงคล หรือบางบ้านก็อาจให้คู่พานนี้อยู่ข้างหลังตั้งแต่แรก


     ๔.พานขันหมากเอก ให้ญาติผู้ใหญ่ถือ 


     ๕.พานขันหมากโท(ถ้ามี) ให้ญาติหรือเพื่อนถือเมื่อเสร็จพิธีแล้วนิยมนำไปเก็บไว้ในห้องพระ


      ๖. พานแหวนหมั้น มักถือคู่กับพานขันหมากเอกในกรณีที่ไม่มีพานขันหมากโท


     ๗.คู่พานสินสอด แนะนำให้เป็นญาติที่ไว้วางใจได้เป็นผู้ถือ


     ๘.คู่พานผลไมม้ งคล เชน่ มะพร้าวส้มโอ ทับทิม องุ่น ส้มสาย-น้ำผึ้ง


     ๙. คู่พานขนมมงคล ๙ ชนิดได้แก่ ทองหยิบ ทองหยอดฝอยทอง ขนมชั้น ทองเอกจ่ามงกุฎ เสน่ห์จันทร์ ถ้วยฟูและเม็ดขนุน


 


     หมายเหตุ – ถ้ามีขบวนรำ ส่วนใหญ่นางรำจะนำหน้าขบวน เมื่อใกล้ถึงหน้าบ้านเจ้าสาวจะแยกออกตั้งแถวรำรอที่


 


หน้าบ้าน ส่วนกลองยาวปิดท้ายขบวนและหยุดเล่นเมื่อเจ้าบ่าวขึ้นเรือนไปประกอบพิธีต่าง ๆ


 


      อย่าลืมฉัน


  •      ชุดตักบาตรหรือเครื่องไทยธรรมพร้อมชุดกรวดน้ำ (แล้วแต่ว่าคู่บ่าว – สาวเลือกตักบาตรร่วมกันหรือมีพิธีสงฆ์ ก่อนพิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์)

  •      ชุดไหว้เจ้าที่เจ้าทางและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บ้านหรือสถานที่จัดพิธี

  •      ชุดรดน้ำ (สังข์ พานรับน้ำพระพุทธมนต์ ขันน้ำพานรอง ตั่ง มงคล แป้งเจิม)

  •      เผื่อจำนวนซองเงินหรือของรางวัลเอาไว้ด้วย

  •      ข้าวเปลือก งาดำ และดอกไม้ชื่อมงคลต่าง ๆ เช่น ดาวเรือง บานไม่รู้โรย โดยจัดเตรียมไว้ในพานใบเล็ก สำหรับโรยบนพานสินสอด สื่อถึงความเจริญงอกงามและความมั่งคั่ง

  •      มาลัยมงคล ๑ คู่ และมาลัยข้อมือหากต้องการกราบเท้าคุณพ่อคุณแม่เป็นกรณีพิเศษ


                        ……………………………………………………………………………………………………………………………………….


 


เจ้าสาวตระเตรียม…


 


 


 






 


 


   ๑.พานเชิญขันหมาก


      ………………………..


 


      เมื่อขบวนขันหมากมาถึงหน้าบ้านจะมีผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวออกมาเจรจาต้อนรับพร้อมเด็กหญิงถือพานเชิญขันหมาก โดยจัดพานใส่หมากพลูตกแต่งสวยงามเตรียมไว้ให้เถ้าแก่ฝ่ายเจ้าบ่าว ซึ่งจะหยิบหมากพลูที่จีบไว้เป็นคำ ๆเคี้ยวกินหรือหยิบมาถือไว้พอเป็นพิธีแล้วให้ซองเงินหรือของรางวัล จากนั้นเจ้าบ่าวจึงเดินเข้าบ้านโดยผ่านประตูเงินประตูทอง


 


     จากที่เห็นมานิยมให้เด็กหญิงน่ารัก ๆแต่งชุดไทยมาถือพานเชิญขันหมาก แต่ WEขอแนะนำว่าควรเลือกเด็กที่โตพอจะรู้ความหน่อย จะได้รู้คิวว่าต้องทำอะไรตอนไหน และไม่ออกอาการงอแงเมื่อเจอคนเยอะหรือต้องยืนรอนาน ที่สำคัญอย่าลืมว่าผู้ถือเป็นเด็กไม่ว่าจะเลือกพานที่ตกแต่งวิจิตรแค่ไหนก็ต้องคำนึงถึงขนาด น้ำหนัก และความสะดวกในการถือของเด็กด้วย ไม่อย่างนั้นก็ต้องมีผู้ใหญ่มาช่วยประคองให้วุ่นอีก


 


     ๒.ทีมกั้นประตูเงิน


    ……………………..


 






   


      สมัยก่อนอาจจะเป็นญาติ ๆ หรือเพื่อน ๆ ผู้หญิงฝ่ายเจ้าสาวถือสายสร้อยมากั้นประตูอย่างสนุกสนาน แต่สมัยนี้นิยมจัดทีมเพื่อนเจ้าสาวแต่งชุดไทยถือสายมาลัยมากั้นเพื่อให้ภาพที่ออกมาดูสวยงามตามธีมงาน ซึ่งถ้าเจ้าสาวอยากให้เป๊ะแบบนี้ก็ต้องเตรียมเช่าชุดเพื่อนเจ้าสาวย้อนยุค (ราคาไม่แพง อยู่ที่ชุดละ๓๕๐ – ๘๐๐ บาท แล้วแต่ว่าอลังการแค่ไหน)


และมาลยั สวย ๆ เอาไว้ให้เพื่อน ๆ หรือน้อง ๆ ด้วย


 


     WE แนะนำให้เจ้าสาวทำความเข้าใจกบั เพื่อน ๆให้สนุกกันพอประมาณ ควรให้เกียรติผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าบ่าวและคำนึงถึงฤกษ์สวมแหวนด้วย


 


     ๓.ของใช้ในพิธีล้างเท้า


     ……………………………


 






 


 


     ในสมัยโบราณยังไม่นิยมสวมรองเท้าเหมือนในปัจจุบัน ทุกบ้านจะมีการตั้งตุ่มน้ำให้เจ้าของบ้านหรือแขกที่มาเยือนได้ล้างเท้าก่อนขึ้นเรือน เมื่อถึงพิธีแต่งงานจึงมีการแทรกการล้างเท้าเข้ามาเป็นหนึ่งในพิธีการ โดยใช้ใบตองและหินก้อนใหญ่รองที่เท้าเจ้าบ่าวก่อนล้าง


 


     พิธีล้างเท้าเริ่มต้นเมื่อเจ้าบ่าวผ่านด่านประตูเงินประตูทองเป็นที่เรียบร้อย ด่านสุดท้ายจะมีน้องหรือญาติผู้น้องของฝ่ายเจ้าสาวยืนดักรอพร้อมขันที่มีน้ำสะอาดผสมมะกรูดและมะนาวเพื่อล้างเท้าให้ ดังนั้นผู้ทำหน้าที่นี้ควรจะอ่อนอาวุโสกว่าเจ้าบ่าวพอสมควร เมื่อล้างเสร็จเจ้าบ่าวจะต้องให้ซองเงินหรือรางวัลเล็ก ๆน้อย ๆ เป็นการตอบแทน


 


     สมัยนี้คนสวมรองเท้าเดินกันจนเป็นปกติจึงไม่มีความจำเป็นต้องล้างเท้าก่อนเข้าบ้านทำให้มีการประยุกต์พิธีล้างเท้ามาเป็นใช้ก้านมะยมมัดแล้วจุ่มน้ำในขันที่เตรียมไว้พรมบนรองเท้าเจ้าบ่าวพอเป็นพิธี ไม่ต้องล้างจนเท้าเปียกเหมือนสมัยก่อน


 


 


 ตระเตรียมร่วมกัน…


 







 


     


 


     ของไหว้ผู้ใหญ่


 


     หลังพิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์หรือพิธีหม้นั (แล้วแต่คู่ ) จะเป็นพิธีไหว้ผู้ใหญ่เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและฝากเนื้อฝากตัวในฐานะเขย – สะใภ้คนใหม่ โดยใช้พานธูปเทียนแพพร้อมกับมอบของไหว้ผู้ใหญ่ ซึ่งสมัยก่อนนิยมมอบเป็นผ้านุ่งหรือผ้าพับ แต่สมัยนี้อาจดัดแปลงเป็นผ้าขนหนูหรือของอื่น ๆ ที่ดูดี ที่เห็นบ่อยก็เช่น เครื่องเบญจรงค์ เครื่องแก้ว สินค้าจากมูลนิธิหรือศูนย์ศิลปาชีพต่าง ๆ ถ้าจะให้ดีบ่าว – สาวน่าจะปรึกษาและช่วยกันเลือกว่าของแบบไหนที่ผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายน่าจะชื่นชอบและได้ใช้ประโยชน์


 


     WE เคยเห็นบางงานที่คู่บ่าว – สาวตั้งใจเลือกของที่เหมาะสมสำหรับผู้ใหญ่ชายและหญิงหรือบางคู่แม้จะให้เป็นผ้าไหว้เหมือนกันแต่ก็เลือกสีและชนิดของผ้าให้เหมาะกับแต่ละท่าน เช่นผ้านุ่งสีเข้มสำหรับรุ่นคุณย่าคุณยาย ผ้าไหมสำหรับรุ่นคุณแม่คุณป้า ผ้าขาวม้าสำหรับผู้ใหญ่ชายซึ่งก็สร้างความรู้สึกประทับใจและเอ็นดูได้ไม่น้อย เพราะรู้สึกว่าลูกหลานใส่ใจและของที่ได้ก็สามารถนำไปใช้ได้จริง ๆ


 


     นอกจากนี้ควรเตรียมของไหว้ผู้ใหญ่สำรองเอาไว้สำหรับผู้ใหญ่ที่มาเพิ่มหน้างานด้วย โดยควรเป็นของกลาง ๆ ที่ให้ใครก็ได้หรือถ้าใช้ไม่หมดก็สามารถนำไปใช้เองหรือให้คนอื่นต่อได้ เช่นผ้าขนหนู เซตผ้าเช็ดมือ เซตแก้วกาแฟ ฯลฯ


 


     หมายเหตุ – ผู้ใหญ่ที่เป็นสามี – ภรรยากันอาจให้ของรับไหว้รวมกัน แต่บ่าว – สาวก็น่าจะเตรียมของไหว้สำหรับทั้งสองท่าน เพราะ WE เคยเจอเคสที่ผู้ใหญ่ทวงถามว่ามา ๒ คนทำไมให้ ๑ ชิ้น จะทำให้เสียความรู้สึกกันเปล่า ๆ อีกอย่างของรับไหว้มักเป็นเงินทองของมีค่า อย่างไรก็ไม่น่าจะขาดทุน


 


 


 


     ของใช้ในพิธีส่งตัว


 


 






 


     เมื่อเสร็จสิ้นพิธีการทุกอย่างแล้วจะเป็นพิธีส่งตัว ซึ่งมีของที่จะต้องจัดเตรียมคือ


 


     พานส่งตัว ประกอบด้วยแมวคราวหรือแมวนอน ไก่แจ้ หินบดยาหรือครกหิน ฟักแฟง เวลาส่งตัวผู้ใหญ่ซึ่งเป็นคู่รักอาวุโสที่อยู่กินกันอย่างมีความสุขและมีลูกหลานดีจะมอบพานนี้ไวเปน็ เครื่องเตือนใจให้บ่าว – สาวรักและครองเรือนกันอย่างมีความสุข โดยมีคำพูดคือ “ให้เย็นเหมือนฟัก ให้หนักเหมือนแฟง ให้แข็งแกร่งหนักแน่นเหมือนหินบดยา ให้อยู่กับเหย้า-เฝ้ากับเรือนเหมือนแมวคราว ให้ตื่นแต่เช้าหากินเหมือนไก่”


 


     ชุดเครื่องนอนใหม่เอี่ยม สำหรับปูในพิธีส่งตัว หากทำพิธีส่งตัวที่โรงแรมก็ควรนำชุดเครื่องนอนใหม่ไปปูทับแล้วเก็บมาใช้ต่อที่บ้านแน่นอนว่าต่อจากนี้คู่บ่าว – สาวจะต้องใช้ด้วยกันดังนั้นไปเลือกด้วยกันน่าจะดีที่สุด ไม่อย่างนั้นถ้าเจ้าสาวเลือกลายคิตตี้สีชมพูหวานแหววมาเจ้าบ่าวจะบ่นทีหลังไม่ได้นะเออ

เรื่องโดย:
ช่างภาพ:

Recommended