เรื่องพื้นฐานที่บ่าวสาวควรรู้ก่อนเดินเข้าร้านเพชร จะได้ไม่โดนหลอก

เพชรเก่า – เพชรใหม่ราคาไม่เท่ากัน
ในกรณีที่ต้องการนำเพชรเก่าเก็บมาขาย ต้องทำใจไว้เลยว่า แม้จะได้ราคามากกว่าตอนที่ซื้อมา แต่ก็ไม่เท่ากับราคาเพชรในปัจจุบันอย่างแน่นอน ปัจจัยสำคัญที่นอกเหนือไปจากการที่เพชรเม็ดนั้นผ่านการใช้งานมาแล้ว ยังมีเรื่องของรูปแบบใบเซอร์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้มาตรฐานในการตรวจสอบเพชรเปลี่ยนไปด้วย

อ่านใบเซอร์เป็น
บางคนบอกว่าใบเซอร์หรือใบรับรองคุณภาพเพชรคือใบรับประกันจากร้านเพชร หรือ Certificate of Guarantee ในขณะที่บางคนคิดว่าเป็นใบการันตีการซื้อขาย ที่จริงแล้ว “ใบเซอร์” ในการซื้อขายเพชรคือ Lab Certificate ซึ่งเป็นใบรับรองคุณภาพเพชรที่ออกโดยสถาบันที่มีห้องปฏิบัติการตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพเพชรเท่านั้น ปัจจุบันมีสถาบันหลายแห่งที่ทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพเพชร ไม่ว่าจะเป็น GIA (Gemological Institute of America) HRD (Hoge Raad Voor Diamant) IGI (International Gemological Institute) AGS (American Gem Society) ซึ่งรูปร่างหน้าตาของใบเซอร์จากแต่ละสถาบันก็แตกต่างกันไป แต่โดยรวมแล้วจะมีรายละเอียดใกล้เคียงกัน

ส่วนที่ 1 : GIA Diamond Grading Report

– วันที่ออกใบรับรอง (Date)

– เลขที่ใบรับรอง (GIA Report Number)

– รูปทรงและรูปแบบการเจียระไน (Shape and Cutting Style)

– ขนาดของเพชร กว้าง ? ยาว ? สูง (Measurements)

ส่วนที่ 2 :  Grading Results

– น้ำหนัก (Carat Weight)

– สีหรือน้ำเพชร (Color Grade)

– ความสะอาด (Clarity Grade)

– การเจียระไน (Cut Grade)

ส่วนที่ 3 : Additional Grading Information

– การขัดเงาที่ผิวเพชร (Polish)

– ความสมมาตรของเพชร (Symmetry)

– การเรืองแสงของเพชร (Fluorescence)

– รายละเอียดที่ขอบเพชร (Inscription)

– ความเห็นอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากข้อมูลที่ทางสถาบันตรวจสอบ

ส่วนที่ 4 : Proportion

– แผนภาพด้านข้าง (รูปตัด) ของเพชรพร้อม

– ระบุขนาดและองศาของเหลี่ยมมุมต่างๆ ของ

– เพชรเม็ดนั้น ๆ

ส่วนที่ 5 : Clarity Characteristics แสดงภาพตำหนิของเพชรเม็ดนั้น ๆ ว่ามีอยู่บริเวณใดบ้าง และแต่ละจุดเป็นตำหนิแบบไหน

ส่วนที่ 6 : Grading Scales ตารางแสดงสเกลวัดมาตรฐานเพชรตามหลักของ GIA ไม่ว่าจะเป็น GIA Color and Clarity Scales, GIA Cut Scales ปิดท้ายด้วยตราสัญลักษณ์แบบโฮโรแกรมหลายชั้น ซึ่งพิมพ์โดยเทคโนโลยีทันสมัย

ใบเซอร์จริงหรือปลอมเช็กได้ในเว็บไซต์ของสถาบันนั้น ๆ โดยดูที่ Diamond Report Check สำหรับเพชรที่ผ่านการตรวจสอบจาก GIA สามารถเช็กผ่านแอพของ GIA ได้อีกหนึ่งช่องทาง เพียงเข้าไปที่เมนู Report Tools คลิกที่ GIA Report Check และกรอกหมายเลขใบเซอร์ ระบบจะตรวจสอบได้ทันทีว่าตรงกับฐานข้อมูลของสถาบันหรือไม่

แค่ลองทำตามคำแนะนำที่ว่านี้ รับรองเลยว่า ซื้อเพชรครั้งหน้าคราใดไม่เสียใจหลังการช็อปอย่างแน่นอน

อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับแหวนแต่งงานและเครื่องประดับเพิ่มเติม คลิกเลย!

ขอขอบคุณ : ข้อมูลบางส่วนจากคุณธมลวรรณ เอกบัณฑิต ผู้เขียนหนังสือ “ซื้อเพชรให้ได้เพชร” และ Gemological Institute of America (GIA) โทร. 0-2632-4090 www.giathai.net

Recommended