จากขวา : สร้อยคอทองคำล้วนสลักดุนลาย, 2-4 สร้อยคอประดับพลอยรอบ
สร้อยคอ สร้อยคอแบบยาวนั้นเป็นที่นิยมกันมากในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ส่วนมากการผลิตจะใช้เทคนิคเฉพาะของช่างเมืองเพชรในการนำลวดทองมาดัดเชื่อมห่วงแต่ละห่วงให้ต่อกันเหมือนโซ่แล้วใช้ตะไบละเอียดลบเหลี่ยมของสันห่วงตลอดเส้น จากนั้นจึงนำมาประกอบด้วยอัญมณีหลากชนิด ไม่ว่าจะเป็นเพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน ไพลิน มุกดา เพทาย และไพฑูรย์ โดยเชื่อว่าจะนำสิริมงคลมายังผู้สวมใส่
จากบนสุด : สร้อยข้อมือทองคำสลักดุนลายพิกุลโบราณประดับทับทิมสยาม, สร้อยข้อมือทองคำล้วนสลักดุนลายพิกุลโบราณ, สร้อยข้อมือลูกประคำทองคำ, สร้อยข้อมือดอกบัวสัตบงกตทองคำ, สร้อยคอทองคำสลักดุนลายพิกุลโบราณ
สร้อยคอ-สร้อยข้อมือ สร้อยคอและสร้อยข้อมือสลักดุนลวดลายในหมวดพฤกษา หนึ่งใน 4 หมวดหลัก นอกเหนือจากหมวด สิงสาราสัตว์ หมวดไทยประยุกต์ และหมวดเลียนแบบปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ล้วนถูกพัฒนารูปแบบและถอดลวดลายมาจากประติมากรรมรูปเคารพและจิตรกรรมฝาผนังในสมัยสุโขทัย
1. กำไลข้อมือทองคำสลักดุนลายพิกุลโบราณประดับพลอย (ซ้ายล่าง) 2-3 กำไลพิรอดนพเก้าเดินลวดลายเทคนิคอยุธยา
กำไล ลวดลายพิกุลโบราณนั้นถือเป็นหนึ่งในลวดลายในกลุ่มพฤกษาที่ได้รับการพัฒนาและถอดแบบลวดลายมาจากเครื่องทองโบราณ ลวดลายประติมากรรมรูปเคารพ ลายรูปปูนปั้น และจิตรกรรมฝาผนังในสมัยสุโขทัย ส่วนพิรอดนั้นเชื่อกันว่าจะช่วย คุ้มครองและทำให้แคล้วคลาดจากโชคร้าย เป็นที่นิยมกันมากในหมู่ทหารที่ออกทัพจับศึกส่วนมากนิยมฝังพลอยนพเก้าลงไป