ลำดับขั้นการเตรียมการแต่งงานในโบสถ์ เช็กลิสต์ตามนี้ไม่มีตกหล่น

ไม่ว่าจะเป็นพิธีการแต่งงานในศาสนาไหน ก็จะมีลำดับขั้นตอนต่างๆ มากมายเต็มไปหมด ไม่เว้นแม้กระทั่งการ แต่งงานในโบสถ์ ที่ไม่ใช่ว่าจะจัดกันได้ง่ายๆ นะจ๊ะ เพราะกว่าจะถึงขั้นตอนการเตรียมงานและวันจัดงานจริงๆ นั้น ว่าที่บ่าวสาวต้องดำเนินการทำเรื่องต่างๆ มากมาย แถมแต่ละเรื่องก็สำคัญไม่ใช่น้อย เพราะหากพลาดหรือตกหล่นขั้นตอนใดไป อาจจะหวืดการจัดงานที่ตั้งใจไว้ไปเลยก็ได้ เพราะฉะนั้นมาเช็กลิสต์แล้วเตรียมตัวให้ดีตามนี้กันก่อนนะคะ

1. หาโบสถ์หรือสถานที่สำหรับประกอบพิธีแต่งงาน

เป็นสิ่งที่บ่าวสาวต้องทำเป็นอันดับแรก ส่วนใหญ่มักเลือกโบสถ์ประจำของว่าที่บ่าวสาว หรือตามแต่จะตกลงกัน แต่ถ้าหากโบสถ์นั้นเล็กเกินไป ก็สามารถเปลี่ยนไปใช้โบสถ์อื่นได้ แต่ต้องเป็นนิกายเดียวกันและไม่นิยมการประกอบพิธีนอกสถานที่ โดยเฉพาะคาทอลิกที่จะไม่อนุญาตให้ทำพิธีแต่งงานนอกโบสถ์ เพราะฉะนั้นว่าที่บ่าวสาวต้องศึกษารายละเอียดให้ดี รวมไปถึงเรื่องชุดแต่งงานด้วย เพราะบางโบสถ์ก็ไม่อนุญาตให้เจ้าสาวสวมชุดแต่งงานแบบเกาะอก หรือเปิดไหล่เข้าทำพิธี

2. เข้าคลาสอบรมตามหลักศาสนา

เมื่อว่าที่บ่าวสาวเลือกโบสถ์ได้แล้ว ต้องรีบยื่นเรื่องขอประกอบพิธีแต่งงาน เพื่อเข้ารับการอบรมเรียนรู้การใช้ชีวิตคู่ก่อนแต่งงานจากบาทหลวงหรือศิษยาภิบาลก่อน โดยต้องเข้ารับการอบรมไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 2 ชั่วโมง หรือจะเลือกเข้าอบรมตามโบสถ์ใหญ่ๆ ที่มีการเปิดอยู่ในขณะนั้นก็ได้ และเมื่อจบการอบรมทางโบสถ์จะออกเอกสารเพื่อนำไปยื่นเรื่องขอแต่งงานในโบสถ์ต่อไป

แต่งงานในโบสถ์

3. ยื่นเรื่องประกอบพิธีแต่งงาน

ว่าที่บ่าวสาวต้องเตรียมเอกสารไว้ให้พร้อม โดยเฉพาะใบผ่านการอบรม เอกสารใบรับศีลล้างบาป และถ้าหากคู่รักของคุณเป็นชาวต่างชาติจะต้องมีเอกสารรับรองสถานภาพโสดมายืนยันด้วย จากนั้นทางโบสถ์จะนำเอกสารเหล่านี้ไปยื่นต่อพระสังฆราชเพื่อขออนุมัติการประกอบพิธีแต่งงานให้กับบ่าวสาว โดยขั้นตอนนี้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ซึ่งถ้าหากคู่รักของคุณเป็นคนต่างนิกายหรือต่างศาสนาจะต้องยื่นคำร้องต่อพระสังฆราชด้วย โดยเฉพาะคู่รักนิกายคาทอลิก ที่อีกฝ่ายไม่ใช่นิกายเดียวกัน จะต้องมีการยอมรับพันธะพื้นฐานการสมรสต้องรับศีลกำลัง และศีลอภัยบาปก่อนเข้าพิธี และต้องให้สัญญาว่าบุตรที่เกิดมาจะต้องได้รับศีลล้างบาปและอบรมเลี้ยงดูตามความเชื่อของนิกายคาทอลิคเท่านั้น

4. ประกาศข่าวดี

เมื่อการดำเนินการทุกอย่างได้รับการอนุมัติจากพระสังฆราช และมีการกำหนดวันเรียบร้อยแล้ว บาทหลวงหรือศิษยาภิบาลจะมีการติดประกาศในโบสถ์เป็นเวลา 3 สัปดาห์ล่วงหน้าก่อนถึงวันแต่งงาน เพื่อให้บุคคลที่เห็นว่าการแต่งงานนี้ไม่เหมาะสมมาคัดค้านก่อนที่จะถึงวันทำพิธีได้

5. ซ้อมใหญ่ก่อนแต่งจริง

ก่อนวันแต่งงานจริงๆ จะมีการซ้อมใหญ่เกิดขึ้น เพื่อซักซ้อมลำดับพิธีการต่างๆ ตั้งแต่ต้นจนจบ และเมื่อเสร็จสิ้นการซ้อม ผู้ใหญ่ฝ่ายชายจะเป็นเจ้าภาพในการจัดงานเลี้ยงฉลอง Rehearsal Dinner ซึ่งก็คือ มื้ออาหารที่จัดขึ้นเพื่อเลี้ยงขอบคุณครอบครัว ญาติ หรือเพื่อนที่มาช่วยงานแต่งงานของคู่บ่าวสาว และแน่นอนว่าจัดเลี้ยงกันตอนมื้อค่ำก่อนวันแต่งงานจริง

รู้ลำดับขั้นตอนคร่าวๆ ตามนี้แล้ว ก็อย่ารีบเตรียมตัวดำเนินการในเรื่องต่างๆ กันไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ นะจ๊ะ จะได้ไม่มีตกหล่น

เช็คเรื่องต่างๆ ในพิธีแต่งงานเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิกเลย!

ภาพ : livingwaterfamilychurch.org, romeoandjulietweddings.com, babbphoto.com

a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a 

a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a a 

Recommended