‘เคียนนมห่มสไบ’ สวยตามแบบฉบับหญิงไทยด้วยชุดแต่งงานไทยโบราณ

นุ่งยกเคียนอก

– ชุดแต่งงานไทยโบราณแบบประยุกต์ –

04_thaisbai(ชุดในภาพได้แรงบันดาลใจจากฉลองพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ)

เป็นรูปแบบที่ผสมผสานระหว่างการห่มผ้าแถบแบบชาวบ้านทั่วไปกับการนุ่งผ้ายกแบบสตรีชั้นสูง และใช้เครื่องประดับอย่างทองและเพชร เพื่อเพิ่มความหรูหรา เหมาะกับการออกงานพิธี

ลักษณะเด่นของชุดเจ้าสาวแบบนี้คือท่อนล่างนุ่งผ้ายกและคาดเข็มขัดแบบเต็มยศอาจเพิ่มรายละเอียดโดยการจับจีบหน้าเพื่อให้ดูสวยงามขึ้นโดยการนุ่งชักชายโรยเชิง คือ ดึงชายพกให้ยาวและแผ่คล้ายรูปพัด ซึ่งเป็นการนุ่งที่เจ้าสาวกำลังนิยมมาก เพราะนอกจากจะดูมีลูกเล่นแล้วยังช่วยปกปิดจุดบกพร่องของสรีระบางส่วน เช่น สะโพกหรือเอวที่ใหญ่ได้ด้วย ส่วนท่อนบนนำวิธีการคาดอกหรือเคียนอกของชาวบ้านในสมัยโบราณมาปรับปรุงให้สวยงามด้วยการจับเดรปแล้วท้งิ ชายลงด้านหน้า เป็นการเพิ่มรายละเอียดและความสวยงามให้แก่ผู้สวมใส่ โดยจุดสำคัญที่ต้องตรึงให้แน่นคือบริเวณชายพก จุดตรึงที่ใต้รักแร้ และการเหน็บผ้าที่ด้านหน้า

สำหรับสีที่นิยมคือสีที่กลมกลืนกันทั้งท่อนบนและท่อนล่าง จากนั้นเพิ่มประกายความเจิดจรัสด้วยเครื่องประดับทอง ไม่ว่าจะเป็นเข็มขัดที่มาพร้อมปั้นเหน่งทองประดับเพชร สร้อยคอ และสร้อยข้อมือ แต่ทั้งหมดนี้ต้องน้อยชิ้นกว่าเครื่องประดับของชุดแต่งงานตามแบบราชนารีโบราณ เพราะชุดรูปแบบนี้อิงกับวิถีชีวิตชาวบ้านที่ไม่หรูหรา จึงเน้นความเรียบโก้ ไม่อลังการ แต่ยังดูเป็นผู้ดี

ผ้าที่ใช้เคียนอกควรเป็นผ้าเนื้อนิ่ม บางและทิ้งตัว เพราะหากใช้ผ้าที่หนาหรือแข็งจนเกินไปจะไม่สามารถจับเดรปได้

Recommended