งานแต่งงานแบบไทย ๆ เป็นพิธีการที่สวยงาม ละเอียดอ่อน และเต็มเปี่ยมไปด้วยความหมาย ทุกขั้นตอนล้วนมีเสน่ห์และแฝงไปด้วยความหมายในตัวเอง อย่างพิธีแห่และรับ ขันหมาก ที่สวยงามและเต็มไปด้วยพิธีรีตองนั้นก็เต็มเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ อย่างวันนี้ แพรว wedding จะพาคุณๆมารู้จักกับ “พานรับขันหมาก” หรือที่บางคนอาจเรียกพานเชิญขันหมากนั่นแหละค่ะ มาดูกันซิว่าพานนี้มีความสำคัญอย่างไร และจะปรากฏกายตอนไหนในช่วงของพิธีการกัน
- ตามขั้นตอนงานแต่งที่ถูกต้องตามประเพณีไทยนั้น เมื่อขบวน ขันหมาก ของเจ้าบ่าวมาถึงเขตบ้านแล้ว ฝ่ายเจ้าสาวจะจัดพานใส่หมากพลู สำหรับรับขันหมาก เตรียมไว้ให้เฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าบ่าว ซึ่งอาจให้เด็กผู้หญิงแต่งตัวสวยงาม หรือญาติผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาว ถือพานออกไปรับ ก็ได้ เป็นการแสดงความยินดีและให้เกียรติเฒ่าแก่ฝ่ายชาย
- เมื่อมีผู้นำพานรับขันหมากมามอบให้ เฒ่าแก่ฝ่ายชายจะหยิบหมากพลูที่จีบไว้เป็นคำ ๆ เคี้ยวกินหรือหยิบไว้ พอเป็นพิธี แล้วส่งพานคืนให้พร้อมกับของชำร่วยหรือซองใส่เงิน ผู้ที่ถือขันหมากต้องไปยืนอยู่นอกเขตบ้าน เพราะต่อไปจะมีการปิดกั้นประตูเงินประตูทอง เมื่อรับพานคืนมาพร้อมของ รางวัลแล้วผู้ทำหน้าที่รับขันหมาก ก็จะนำขบวนขันหมากเข้าสู่เขตบ้าน
- ในการรับขันหมากนั้น นอกจะให้เด็กยกพานรับขันหมากแล้ว ผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวก็จะออกมาให้การต้อนรับด้วย เพื่อเจรจาต้อนรับเฒ่าแก่ของฝ่ายเจ้าบ่าว พูดคุยกันในเรื่องอันเป็นมงคลเกี่ยวกับ ฤกษ์งามยามดีในวันนี้ บางทีหน้าที่โต้ตอบ
- ทั้งนี้การจัดขบวนขันหมากอาจใช้ผู้ที่มีความรู้ด้านนี้โดยเฉพาะคอยควบคุม เรียกว่า นายขันหมาก ส่วนเฒ่าแก่เป็นเพียงผู้ร่วมมาในขบวนขันหมากและเป็นผู้ทำพิธีในฐานะผู้ใหญ่ ของฝ่ายชาย นายขันหมาก บางทีเรียกว่า คนเอิ้น หรือผู้ขานขันหมาก มีหน้าที่บอกกับทางผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงว่า บัดนี้ขบวนขันหมาก ได้มาถึงบ้านของฝ่ายหญิงแล้ว
ติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับพิธีแต่งงานไทยเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิกเลย!
cr : หนังสือประเพณี พิธีมงคล วันสำคัญของไทย โดย กิตติ ธนิกุล, my.inlovephoto, sitphotograph